Cute Polka Dotted Rainbow Bow Tie Ribbon

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
ประจำวัน อังคาร ที่ 24 มกราคม พ.2560

    ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายและความสำคัญของสื่อ
       สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์                        ทัศนคติ ค่านิยมหรือทักษะที่ตนมีไปสู้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียน                    รู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด
สื่อการเรียนรู้
       เป็นเครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้  เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อ
       -   เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออก
       -   เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ 
       -   เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
       -   สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็ว
     และจำได้แม่นยำ                                                                                                                           ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
 1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
 2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์  หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียงอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน 
3.สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ
ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ 
วัยหนึ่งขวบถึงสองขวบ วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่ง
วัยสองขวบถึงสาม ขวบ ช่วงนี้เด็กจะเริ่มสนใจที่จะเล่นกับเด็กอื่นๆและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน
วัยสามขวบถึง สี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นการได้ทeกิจกรรมต่าง ๆ 
วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น 
วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่
การเล่นของเด็กปฐมวัย
1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
         การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
2.คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น


สอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม  เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน  เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจ                                                  
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
บล็อก
เครื่องเล่นสัมผัส
เกมการศึกษา
ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
หนังสือภาพนิทาน
หุ่นต่าง ๆ
ศิลปะสร้างสรรค์
ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เพลงและดนตรี
 เล่นบทบาทสมมติหรือเลียนแบบชีวิต
4.ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้ง ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา 
5.วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้
ดังนี้ 
จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่น 
ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระกระตุ้น 
ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆ
กล่าวคำชมเชย
ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
พฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสำหรับเด็กปฐมวัย
   ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม คนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก 
แต่จะชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
ดยแบ่งออกเป็น
 2.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
 2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency)
 2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency)
3. ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility
        โดยแบ่งออกเป็น
        3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที   (Spontaneous Flexibility)
        3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง  (Adaptive Flexibility))
 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

 1.2 ประหยัด

  1
. พัฒนาการของความละเอียดละออจะขึ้นอยู่กับอายุ กล่าวคือ เด็กที่มีอายุมากจะมี     ความสามารถด้านนี้มากกว่าเด็กอายุน้อย
  2. เด็กหญิงจะมีความสามารถมากกว่าเด็กชายในด้านความละเอียดละออ
  3. เด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดละออจะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
6. คุณครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  5.1 ลักษณะโดยทั่วไป
  5.2 หลักสูตรและวิธีสอน
  5.3 วิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
1. หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
  1.1 ประโยชน์
  1.2 ประหยัด
  1.3 ประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน
การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านการเล่นด้วยประสาทสัมผัส
ทั้ง 5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
โดยมีวิธีการเรียนรุ้ดังนี้


1.การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฏีพหุปัญญา
     1.1 ปัญญาทางด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
     1.2 ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์(Logical Mathematical Intelligence)
    1.3 ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
    1.4 ปัญญาด้านดนตรี(Music Intelligence)
    1.5 ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial Intelligence)
    1.6 ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Interpersonal Intelligence)
    1.7 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์(Intrapersonal Intelligence)
    1.8 ปัญญาทางด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ(Naturalist Intelligence)
2. ทฤษฎีทางพหุปัญญา (Mi Theory)
   2.1 ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง
   2.2 ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้าน
   2.3 ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญา
   2.4 ปัญญาต่างๆ สามารถทำงานร่วมกัน
   2.5 ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง
3. ความสุข
  สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเฝ้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า พากเพียรพยายามที่จะให้ตัวเอง และผู้เป็นที่รักได้พบได้ครอบครอง 
4. การประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่เก่ง ดีและมีความสุข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริง 
 5. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
  การเรียนรู้แบบลงมือในการกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน(Hohmannand Weikart,1995)
 5.1 การเลือกและตัดสินใจ
 5.2 สื่อ
 5.3 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 5.4 ภาษาจากเด็ก

5.5 การสนับสนุนจากผู้ใหญ่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น