Cute Polka Dotted Rainbow Bow Tie Ribbon

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
ประจำวัน อังคาร ที่ 31 มกราคม พ.2560

    ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 3  สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น


ลักษณะของสื่อ

ออกเป็น 3 ประเภท
 1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์

   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    3.2 การทดลอง   3.3 เกม  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    3.8กิจกรรมอิสระ   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ
ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ
ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้
10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้
การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1. การเลือกสื่อ
  1.1 มีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
1.1.1ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก
1.1.2พื้นผิวของวัตถุเรียบ       
1.1.3ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
   1.2 คำนึงถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับ
1.2.1เร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น     
1.2.2กระตุ้นพัฒนาการ
1.2.3ประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
1.3 ความประหยัด
1.3.1 เงิน ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป
1.3.2 ประหยัดในแง่ของวัสดุ
     1.4 ด้านประสิทธิภาพ
1.4.1 ใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส
1.4.2 ให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
2. วิธีการเลือกสื่อ
 2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
 2.2 เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
 2.3 เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
 2.4 มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
 2.5 มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
2.6 มีคุณภาพดี
2.7 เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน
2.8 สื่อที่เลือกเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้
2.9 เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด
2.10 เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
1. สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
2. วางแผนในการผลิต
3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
4. ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น
5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง
ขั้นตอนการใช้สื่อ
1) เตรียมตัวครู
2) เตรียมตัวเด็ก
3) เตรียมสื่อ
การนำเสนอสื่อ
1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ
1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด
สื่อการสอนเดินได้
การเรียนการสอนนั้นบางครั้งแม้ไม่มีสื่ออยู่ในมือเลย การเรียนการสอนก็ประสบผลสำเร็จได้เพราะครูและสิ่งที่ครูมีอยู่ในตัว
      1) สายตา
      2) สีหน้า
      3) น้ำเสียง
สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ของเล่น
   สิ่งของหรือวัสดุ – อุปกรณ์ ที่นำมาให้เด็กเล่น บางทีก็เรียกว่า เครื่องเล่น อาจรวมถึงอุปกรณ์ดนตรีอุปกรณ์ทางด้านพลานามัย และอื่น ๆ ซึ่งของเล่นหรือเครื่องเล่นนั้นเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กได้รู้จัก ได้ใช้ได้จัด ได้กระทำ หรือประดิษฐ์คิดสร้าง
   1) ของเด็กเล่น
   2) เครื่องกีฬา
  3) เครื่องดนตรี
การจัดประเภทของเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิด
1. ของเล่นประเภทที่เด็กเล่นเพื่อการรับรู้
 2. เรียนรู้ด้วยวิธีใช้ความคิด หาวิธีลองทำเพื่อแก้ปัญหา
 3. ของเล่นประเภทที่ช่วยให้เด็กได้ลงมือทำ
 4. ของเล่นที่เด็กเลียนแบบและการแสดงบทบาท
 5. การเล่นเพื่อพัฒนาภาษา
การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย
พิจารณาได้ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
         1. วัสดุที่ใช้ผลิต
         2. ส่วนประกอบ
         3. โครงสร้าง
คุณสมบัติของของเล่นที่ดี
1. เป็นของเล่นที่ผู้เล่นมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
2. เป็นของเล่นที่เหมาะสมกับอายุ พัฒนาการ
3. ของเล่นนั้นควรใช้ในกิจกรรมการเล่นหลาย ๆแบบ
4. เป็นของเล่นที่ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ
5. เป็นของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่ม
6. เป็นของเล่นที่มีความปลอดภัย ทำจากวัสดุปราศจากพิษ
7. เป็นของเล่นที่สามารถนำมาเล่นได้เอง
8. ควรเป็นของเล่นที่แพร่หลาย เด็ก ๆ นิยมกันทั่วไป
วัตถุประสงค์ของการเล่นที่ใช้เครื่องเล่นของเด็ก
1. เพื่อเพลิดเพลิน
2. เพื่อพัฒนาการทางร่างกาย
3. เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์
การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย
1. ให้การศึกษาเกี่ยวกับเครื่องเล่นที่มีคุณสมบัติที่ดี
2. สิ่งบรรจุเครื่องเล่นควรมีคำอธิบาย คำแนะนำแสดงไว้
3. ผู้ซื้อเครื่องเล่นควรพิจารณาเลือกประเภทให้ถูกต้องตามความเจริญเติบโต
4. เครื่องเล่นควรเป็นชนิดที่ทำความสะอาดได้ง่าย
5. เครื่องเล่นที่ผู้ใหญ่ไม่แน่ใจว่าเด็กจะเล่นได้ปลอกภัยหรือไม่
6. เด็กต่างวัยกันไม่ควรเล่นเกมกีฬาประเภทเดียวกันร่วมกัน
ทฤษฎีและพัฒนาการการเล่นของเด็กปฐมวัย
รูดอล์ฟ (Rudolph, 1984, p. 95) ได้
สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
       1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
       2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
       3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์
ความสำคัญของการเล่น
เพียเจท์ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2528:12 อ้างอิงมาจาก Piaget.N.d.) ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการเล่น เด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆจากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่าง ๆเข้ามาในสมอง
     1) บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์
     2) การเล่นช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
     3) การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม
การเล่นกับพัฒนาการด้านต่างๆ
1.อายุ 02 ปี
  เป็นการเล่นแบบทารก เด็กจะใช้ตัวเองและอวัยวะไปสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยสมรรถภาพทางกายกระทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัส เพื่อรับรู้และมีการกระทำที่ซ้ำ
2. อายุ 23 ปี
  เป็นขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ วัยนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ร่างกายก็มีความสามารถเพิ่มขึ้น
3. อายุ 36 ปี
   เป็นขั้นการเล่นที่สื่อความคิด เด็กจะเล่นด้วยการสมมติตนเอง สิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนของจริงที่ไม่มีอยู่ในที่นั้นได้ วัยนี้เด็กจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม มีความคิดและจินตนาการในการเล่นที่แสดงออกถึงการเรียนรู้ทางสังคม
พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
1. การเล่นเลียนแบบ (Imitation)
2. การสำรวจ (Exploration)
3. การทดสอบ (Testing)
4. การสร้าง (Construction)
ประโยชน์ของการเล่น
ซูซาน ไอแซค (Susan Isaacs) ได้ศึกษาวิจัยผลของการเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
  1. การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
  2. การเล่นช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิดและสติปัญญา
  3. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
  4. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
  5. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
ประจำวัน อังคาร ที่ 24 มกราคม พ.2560

    ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายและความสำคัญของสื่อ
       สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์                        ทัศนคติ ค่านิยมหรือทักษะที่ตนมีไปสู้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียน                    รู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด
สื่อการเรียนรู้
       เป็นเครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้  เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อ
       -   เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออก
       -   เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ 
       -   เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
       -   สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็ว
     และจำได้แม่นยำ                                                                                                                           ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
 1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
 2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์  หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียงอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน 
3.สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ
ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ 
วัยหนึ่งขวบถึงสองขวบ วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่ง
วัยสองขวบถึงสาม ขวบ ช่วงนี้เด็กจะเริ่มสนใจที่จะเล่นกับเด็กอื่นๆและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน
วัยสามขวบถึง สี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นการได้ทeกิจกรรมต่าง ๆ 
วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น 
วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่
การเล่นของเด็กปฐมวัย
1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
         การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
2.คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น


สอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม  เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน  เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจ                                                  
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
บล็อก
เครื่องเล่นสัมผัส
เกมการศึกษา
ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
หนังสือภาพนิทาน
หุ่นต่าง ๆ
ศิลปะสร้างสรรค์
ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เพลงและดนตรี
 เล่นบทบาทสมมติหรือเลียนแบบชีวิต
4.ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้ง ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา 
5.วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้
ดังนี้ 
จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่น 
ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระกระตุ้น 
ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆ
กล่าวคำชมเชย
ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
พฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสำหรับเด็กปฐมวัย
   ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม คนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก 
แต่จะชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
ดยแบ่งออกเป็น
 2.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
 2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency)
 2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency)
3. ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility
        โดยแบ่งออกเป็น
        3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที   (Spontaneous Flexibility)
        3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง  (Adaptive Flexibility))
 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

 1.2 ประหยัด

  1
. พัฒนาการของความละเอียดละออจะขึ้นอยู่กับอายุ กล่าวคือ เด็กที่มีอายุมากจะมี     ความสามารถด้านนี้มากกว่าเด็กอายุน้อย
  2. เด็กหญิงจะมีความสามารถมากกว่าเด็กชายในด้านความละเอียดละออ
  3. เด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดละออจะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
6. คุณครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  5.1 ลักษณะโดยทั่วไป
  5.2 หลักสูตรและวิธีสอน
  5.3 วิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
1. หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
  1.1 ประโยชน์
  1.2 ประหยัด
  1.3 ประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน
การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านการเล่นด้วยประสาทสัมผัส
ทั้ง 5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
โดยมีวิธีการเรียนรุ้ดังนี้


1.การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฏีพหุปัญญา
     1.1 ปัญญาทางด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
     1.2 ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์(Logical Mathematical Intelligence)
    1.3 ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
    1.4 ปัญญาด้านดนตรี(Music Intelligence)
    1.5 ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial Intelligence)
    1.6 ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Interpersonal Intelligence)
    1.7 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์(Intrapersonal Intelligence)
    1.8 ปัญญาทางด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ(Naturalist Intelligence)
2. ทฤษฎีทางพหุปัญญา (Mi Theory)
   2.1 ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง
   2.2 ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้าน
   2.3 ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญา
   2.4 ปัญญาต่างๆ สามารถทำงานร่วมกัน
   2.5 ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง
3. ความสุข
  สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเฝ้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า พากเพียรพยายามที่จะให้ตัวเอง และผู้เป็นที่รักได้พบได้ครอบครอง 
4. การประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่เก่ง ดีและมีความสุข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริง 
 5. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
  การเรียนรู้แบบลงมือในการกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน(Hohmannand Weikart,1995)
 5.1 การเลือกและตัดสินใจ
 5.2 สื่อ
 5.3 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 5.4 ภาษาจากเด็ก

5.5 การสนับสนุนจากผู้ใหญ่